วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คำถามที่พบบ่อย

เราคือ Online Platform ทำหน้าที่เชื่อมต่อเพื่อให้เกิดการให้สินเชื่อ ระหว่างนักลงทุนที่แสวงหาผลตอบแทนมากกว่าทางเลือกในการลงทุนแบบเดิม กับกลุ่มบุคคลที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนและมีอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเหมาะสมมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ให้กับนักลงทุน เราเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการขายฝากทรัพย์สินมากว่า 30 ปี


LandandCash มีหน้าที่นำเสนอข้อมูล ประสานงานกับบริษัทประเมินทรัพย์สิน ดูแลความถูกต้อวิธีคำนวณค่าธรรมเนียมและค่าบริการ

ผู้กู้ยืมสามารถคำนวณผ่านเว็ปไซต์กรมที่ดิน คลิกเลย


ขายฝาก


1.ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร

2.ค่าธรรมเนียมการโอน(ขายฝากมีลักษณะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์) 2% ของราคาประเมินกรมธนารักษ์

3.ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (ในกรณีผู้ขายฝากถือครองทรัพย์มาได้ไม่นาน)

4.ค่าคำขอ ค่าพยาน ตามเกณฑ์ของกรมที่ดิน

งและเป็นธรรมของสัญญา ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการดำเนินการ ณ สำนักงานที่ดินเขตนั้นๆ


1. วิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน (Cost Approach)

วิธีการประเมิน

คือประเมินจากต้นทุนที่ใช้ไปในการก่อสร้าง การประมาณการต้นทุนในการสร้างอาคารทดแทนตามราคาปัจจุบัน (Present Value) แล้วหักลบด้วยค่าเสื่อมราคา (ถ้ามี) บวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน ก็จะได้มูลค่าของทรัพย์สินนั้นมักใช้ควบคู่ไปกับวิธีการเปรียบเทียบตลาดหรือใช้ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินด้วยวิธีเปรียบเทียบตลาดได้ เช่นในบริเวณข้างเคียงไม่มีทรัพย์สินที่มีลักษณะเดียวกัน ประกาศขายอยู่เลย

เหมาะกับ : อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์เช่นตึกแถว ที่ไม่สามารถหาทรัพย์สินเปรียบเทียบที่เป็นประเภทและสภาพเดียวกันได้ในทำเลนั้นๆ

ตัวอย่าง:ประเมินอพาร์ทเม้นท์ อายุ10 ปีด้วยวิธีวิเคราะห์มูลค่าจากต้นทุน ถ้าจะต้องสร้างอาคารใหม่ในปัจจุบันจะต้องใช้เงิน 10 ล้านบาท หักค่าเสื่อม 20% (ปีละ 2% 10 ปี) ทำให้มูลค่าอาคารเหลือ 8 ล้านบาท เมื่อบวกด้วยมูลค่าตลาดของที่ดิน 10 ล้านบาท ก็เท่ากับว่ามูลค่าของที่ดินพร้อมโรงงานนี้คือ 18 ล้านบาท

2.เปรียบเทียบตลาด (Market Comparable Approach)

วิธีการประเมิน

หาราคาประเมินจากราคาของทรัพย์สินที่อยู่ในทำเลใกล้เคียงกันและเป็นทรัพย์สินประเภทเดียวกันเช่นบ้านแฝดที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันตึกแถวจำนวนชั้นเท่ากันอยู่ในถนนเส้นเดียวกันโดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีสภาพคล้ายกันวิธีการประเมินด้วยวิธีเปรียบเทียบเป็นวิธีที่นิยมใช้ที่สุดในการหามูลค่าตลาด (Market Value) โดยจะพิจารณาจาก ทำเลที่ตั้ง ผังเมือง กฎหมายที่จำกัดสิทธิที่ดิน ขนาดแปลงที่ดิน ขนาดเนื้อที่ใช้สอยอาคาร คุณภาพอาคาร เป็นต้น จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์เพื่อหามูลค่าอสังหาริมทรัพย์ออกมา โดยอาศัยเทคนิคต่างๆ เช่น Sale Adjustment-Grid Method และ Weighted Quality Score (WQS) เป็นต้น

เหมาะกับ :การประเมินหามูลค่าอาคารที่อยู่อาศัย เพื่อขอสินเชื่อ

ตัวอย่าง: ประเมินราคาบ้านเดี่ยว 50ตรว. หมู่บ้านA หากมีบ้านเดี่ยว50ตรว.ก็เอาราคานั้นมาใช้อ้างอิงประเมินได้ ถ้าหากไม่มีบ้านขายอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน อาจเทียบเคียงจากหมู่บ้านข้างเคียง โดยบวกลบจากสภาพสิ่งแวดล้อม ส่วนกลางหมู่บ้าน

3.แปลงรายได้เป็นมูลค่า (Income Approach)

วิธีการประเมินมูลค่า

ราคาประเมินจะเท่ากับ การคำนวณกระแสเงินสดจากผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบันของทรัพย์สิน

การประเมินมูลค่าด้วยวิธีผลตอบแทนทางตรง (Direct Capitalization) เหมาะสำหรับทรัพย์สินที่สร้างรายได้ ยิ่งสร้างรายได้มาก มูลค่าของทรัพย์สินก็ยิ่งสูงขึ้น

เหมาะกับ :อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่นโกดังสินค้า ศูนย์การค้า โรงแรม

การประเมินค่าทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดรายได้ หรือประเมินราคาในแง่ของการลงทุน เช่น อะพาร์ตเมนต์ หอพัก หรือศูนย์การค้า อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่ยากต่อการหามูลค่าด้วยวิธีการเปรียบเทียบ

การขยายกำหนดเวลาไถ่สามารถทำได้

โดยผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับซื้อฝากและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน

ทำสัญญาขยายเวลาไถ่กี่ครั้งก็ได้แต่รวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 10ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝาก

ถ้าข้อตกลงขยายระยะเวลาไถ่ขายฝากไม่นำไปจดทะเบียนจะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้

ระยะเวลาไถ่ขายฝากจะต้องจดทะเบียนไว้ที่โฉนด ณ กรมที่ดิน

กำหนดไว้1ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน10ปี ต้องของไถ่ถอนภายในกำหนดเวลาสัญญาขายฝาก หรือภายในเวลาที่กำหนด

การทำข้อตกลงขยายระยะเวลาไถ่ขายฝากจะต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Map