ขายฝากคืออะไร? บทความ


เคสขายฝากโรงแรม,อพาร์ทเม้นท์,รีสอร์ท

ทาง Land and Cash ยินดีรับเคส ร่วมงานกับเอเจนท์ ในการปิดดีลเคสระดับตั้งแต่หลายสิบล้านถึงหลายร้อยล้าน

ขอบคุณ นายหน้าที่วางใจส่งเคส มาขายฝากผ่านกับทาง Land and Cash

Agent Welcome
ทาง Land and Cash ยินดีรับงานทั้ง จำนอง ขายฝากจากนายหน้าทุกท่าน
รับค่าคอมมิชชั่นสูงสุด 1.25%-5%

ส่งงานได้ที่
LineID: sippydowns


ปกติแล้วสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแรกๆ ที่หลายคนมักนึกถึงจะนึกถึงธนาคารเป็นแห่งแรก แต่จริงๆแล้วยังมีแหล่งช่องทางการเงินอื่นๆที่เช่นบุคคลธรรมดา/และบริษัท ที่ต่างก็ถูกต้องกฎหมายด้วยเช่นกัน Land and Cash จึงมาอธิบาการจำนองบ้านระหว่าง ธนาคาร กับ บุคคล ต่างกันอย่างไร


การจำนอง ก็คือ การที่บุคคลที่หนึ่ง เรียกว่า “ผู้จำนอง” นำอสังหาริมทรัพย์ของตน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม ที่ดิน ฯลฯ ไปจดทะเบียนจำนองไว้กับสถาบันการเงินหรือบุคคล เรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ตามระยะเวลาของสัญญาจำนอง ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบอสังหาริมทรัพย์เหล่านั้นให้กับผู้รับจำนอง


การจำนองบ้านระหว่าง ธนาคาร

ข้อดีจำนองบ้านกับธนาคาร

•  ธนาคารโดยปกติจะได้วงเงินอนุมัติ 80%- 100% ขึ้นไป ของราคาประเมิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสถาบัน

•  อัตราดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับนโยบายดอกเบี้ยแต่ละช่วงเวลา แต่มักจะ ต่ำกว่า 5% หรือถ้าเป็นสินเชื่อธุรกิจ ก็ไม่เกิน 10% ต่อปี

•  ระยะเวลาการกู้สามารถกู้ได้นานกว่า 10 ปี

ข้อด้อยของการจำนองบ้านกับธนาคาร

•  การจำนองบ้านกับธนาคารมักใช้เวลานานในการพิจารณาบางเคสเป็นเดือนกว่าจะอนุมัติ

•  การจำนองบ้านกับธนาคารต้องใช้เอกสารเยอะเพราะต้องตรวจสอบเอกสารทางการเงิน

•  การจำนองบ้านกับธนาคารจะพิจารณาอายุของผู้ด้วย ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 55-60 ปี

•  การจำนองบ้านกับธนาคารบังคับให้มีการตรวจสอบเครดิตบูโร

•  การจำนองกับธนาคาร ธนาคารอาจจะบังคับให้ต้องมีผู้ค้ำประกัน

•  การจำนองที่ดินเปล่า ธนาคารมักไม่อนุมัติ


การจำนองกับบริษัทเอกชน หรือ กับบุคคลธรรมดา

ข้อดีการจำนองกับบริษัทเอกชน หรือ กับบุคคลธรรมดา

•  การจำนองกับบริษัทเอกชน หรือ กับบุคคลธรรมดา ใช้เวลารวดเร็วกว่ามาก สำหรับ Land and Cash 

เรามีทีมประเมินและผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ทำให้สามารถอนุมัติวงเงินเบื้องต้นในบางเคสหากเอกสารพร้อม สามารถทราบวงเงินได้เร็วสุดใน 3 ชม.*

•  การจำนองกับบริษัทเอกชน หรือ กับบุคคลธรรมดา ไม่ต้องเช็คเอกสารทางการเงิน ไม่ยุ่งยาก อายุเยอะก็สามารถกู้ได้ ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่ต้องมีคนค้ำ เพราะพิจารณาจากทรัพย์สินที่มาจำนองก็เพียงพอ

•  การจำนองกับบริษัทเอกชน หรือ กับบุคคลธรรมดา ทำธุรกรรมที่กรมที่ดินจึงปลอดภัยหายห่วง

•  ที่ดินเปล่า ไร้โครงการ สถาบันการเงินอื่นอาจมองไม่เห็นคุณค่า แต่ ที่ Land and Cash เรา ยินดีพร้อมให้คำปรึกษาและตอบโจทย์ลูกค้า ทำได้ กู้ง่าย ได้เงินไว


ข้อเสียการจำนองกับบริษัทเอกชน หรือ กับบุคคลธรรมดา

•  วงเงินได้เพียง 20-40% ของราคาประเมินตลาด

•  ดอกเบี้ยจะสูงกว่าการจำนองบ้านกับธนาคาร จะอยู่ที่ 1.25% ต่อเดือน หรือประมาณ 15% ต่อปี


เอกสารที่ต้องใช้ในการจำนองบ้าน ที่ใช้ในการติดต่อสำนักงานที่ดิน


หลักฐานสำหรับที่ดินและห้องชุด

—   โฉนดที่ดิน/น.ส.3ก

—   หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด

—   หลักฐานการได้มาซึ่งที่ดิน


หลักฐานสำหรับบุคคลธรรมดา

•  บัตรประจำตัวประชาชน ตัวจริง (พร้อมสำเนา)

•  สำเนาทะเบียนบ้านของตนเอง และของคู่สมรส ตัวจริง (พร้อมสำเนา)

•  ทะเบียนสมรส (สำเนา)

•  หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล ตัวจริง (พร้อมสำเนา)

•  ทะเบียนหย่า , ใบมรณะบัตร (สำเนา)

•  หนังสือยินยอมให้ทำนิติกรรมของคู่สมรส

•  ใบขออนุญาติปลูกสร้าง (กรณีที่ไม่ใช่โครงการบ้านจัดสรรแต่เป็นบ้านที่ปลูกสร้างเอง)

•  ใบปลอดค่าสาธารณูปโภค (ค่าส่วนกลาง ค่าน้ำ ค่าไฟ ในกรณีเป็นอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมเท่านั้น)


หลักฐานสำหรับนิติบุคคล

•  เอกสารก่อตั้งนิติบุคคล หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

•  หนังสือบริคณห์สนธิ ข้อบังคับ วัตถุประสงค์

•  หนังสือสำคัญการให้ทำการแทนนิติบุคคล

•  บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นหรือสมาชิก โดยแสดงสัญชาติและจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นทุกคนที่นายทะเบียนสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรองแล้วในปัจจุบัน

•  บัตรประจำตัวของกรรมการหรือผู้แทนนิติบุคคล

•  รายงานการประชุมของนิติบุคคล

•  กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนสามัญมีวัตถุประสงค์ซื้อที่ดินเพื่อประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยนิติบุคคลนั้นมีคนต่างด้าวถือหุ้นหรือเป็นกรรมการ

–  ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยต้องแสดงหลักฐานการประกอบอาชีพรายได้ที่มาของเงินซึ่งนำมาซื้อหุ้น

–  กรณีนิติบุคคลซื้อที่ดินในราคาสูงกว่าทุนจดทะเบียนโดยไม่จำนองที่ดิน ต้องแสดงหลักฐานที่มาของเงินที่นำมาซื้อที่ดิน



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Map